จะจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ


ประเภทของบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์

     บรรจุภัณฑ์อาจจำแนกออกตามวัตถุประสงค์ของการบรรจุภัณฑ์ การบรรจุมีความสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าสะดวกซื้อ (conveniencegoods) จะเห็นได้ว่าสินค้าที่วางขายตามห้างสรรพสินค้าทุกประเภทจะต้องมีการบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น อุปกรณ์ราคาแพง ซึ่งต้องมีการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และมีมาตรฐานความปลอดภัยจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้สะดวกทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต แต่สำหรับประเภทของบรรจุภัณฑ์ตามการใช้ในงานโลจิสติกส์ แบ่งได้เป็นดังนี้

1. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (retail package)เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไว้เพื่อความสะดวกต่อการส่งมอบสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง จึงมีการออกแบบให้มีความสะดุดตา และเป็นสื่อโฆษณาภายในตัวเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ปกป้องสินค้ามีรูปร่างที่เหมาะแก่การใช้งานและมีการออกแบบเชิงส่งเสริมการตลาดหรือเชิงพาณิชย์

2. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายส่ง (wholesale package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่แบ ่งสินค้าออกเป็นชุดเพื่อสะดวกในการจัดจำหน่าย เช่น6 ชิ้น 12 ชิ้น หรือ 24 ชิ้น เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้สินค้าเสียภายในระหว่างการเก็บรักษาในคลังสินค้าหรือจากการขนส่งและสะดวกต่อการส่งมอบสินค้าไปสู่ผู้ขายปลีกหรือขายส่งซึ่งบรรจุภัณฑ์นี้สำคัญต่อกระบวนการกระจายสินค้าที่เรียกว่า DC(Distribution Center) หรือ ศูนย์กระจายสินค้า

3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (out package/transport package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อใช้บรรจุสินค้า เพื่อให้สามารถจัดเรียงหรือจัดวางโดยใช้พื้นที่ได้น้อยที่สุด เพื่อใช้ในการขนส ่ง รวมถึง ให้มีสภาพแข็งแรงเพื่อป้องกันการกระแทกหรือป้องกันละอองน้ำหรือน้ำไม่ให้สินค้าเสียหายระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง เช่น ลังไม้หรือที่บรรจุในพาเลท(pallet) เป็นต้น 

ปัญหาของการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์

     การจัดบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพที่มีความจำเป็นต ่อความสำเร็จของธุรกิจ ทั้งต่อกระบวนการดำเนินการ และการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อย่างไรก็ตามการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดปัญหาดังนี้

1. ปัญหาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (packaging development) เมื่อนำผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เข้าสู่ตลาดเพื่อวางจำหน่ายจำเป็นต้องมีการบรรจุภัณฑ์และการติดฉลาก การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์จะมีบทบาทต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาดีทำให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภค มีส่วนทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้ทันทีช่วยในการส่งเสริมการขายของผู้ผลิตได้  และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคหากไม่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ธุรกิจจะไม่สามารถแข่งขันทางการค้าได้ดังนั้น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จะต้องสอดรับประเด็นการตลาดการกระจายสินค้า และการผลิตซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องโลจิสติกส์ทั้งในส่วนของการออกแบบที่เข้ากับการใช้งาน รวมถึงเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบการขนส่งที่กำหนด

2. ปัญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging design) บรรจุภัณฑ์รวมถึงภาชนะที่บรรจุ(container) และการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใดๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดีและเพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคปัญหาที่พบในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้แก่ตราเครื่องหมายไม่เด่นขาดความสวยงามการออกแบบไม่สะดวกต่อการใช้งาน และไม่สะดวกในการเก็บรักษา
     ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงสำคัญอย่างยิ่งในตลาดปัจจุบัน นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องใช้ความรู้และข้อมูลจากหลายๆ ด้านมาประกอบกัน การใช้ทักษะทางศิลปะในการอกแบบ ต้องอาศัยความรู้และข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่สำเร็จออกมามีประสิทธิภาพในการใช้งานจริง และสอดคล้องกับภาวการณ์แข่งขันทางการค้าเช่นในสภาพปัจจุบัน

3. ปัญหาการขาดบุคลากรในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การผลิต การบรรจุ และรวมทั้งการขนส่ง ถ้าไม่คำนึงถึงสภาพการณ์ที่เป็นจริงแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือบรรจุภัณฑ์นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่เท่าที่ควร และจะก่อให้เกิดความเสียหายรวมในการลงทุนได้จนกลาเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น ปัญหาการขาดบุคลากรในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งหรือขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาดการศึกษาวิจัยอย่าจริงจังถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของประเทศยังไม่ครบวงจร  

4. ปัญหาการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ (packaging materials)การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและสร้างความโดดเด่นให้กับตัวสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่
มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าสินค้าอื่นในท้องตลาด ซึ่งต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับสินค้าจะทำให้สินค้าดูด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานดังนั้นผู้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ต้องรู้จักชนิดของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ด้านคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี

5. ปัญหาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ (packaging cost) ในสถานการณ์ปัจจุบันต้นทุนบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยที่สำคัญของธุรกิจต้นทุนบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย ต้นทุนในการออกแบบบรรจุภัณฑ(packagingdesigncost) ต้นทุนวัสดุบรรจุภัณฑ์(packagingmaterial cost) ต้นทุนในการขนส่ง (transportation cost) และต้นทุนในคลังสินค้า (warehouse cost) ปัญหาที่พบในต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้แก่การใช้วัสดุในการบรรจุภัณฑ์ไม่เหมาะสมกับราคาใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตบรรจุภัณฑ์ไม่คุ้มค่า หรือซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูง ทั้งนี้การจัดวางบรรจุภัณฑ์เรียงทับซ้อนกันในทางสูง ก็จะสามารถลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้นอกจากนี้ขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อรูปแบบ

      บรรจุภัณฑ์นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจเนื่องจากสามารถเป็นสื่อโฆษณา ณ จุดขายปลีกไปสู ่มือผู้ซื้อโดยตรง แสดงถึงชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ตราสินค้า คุณสมบัติสรรพคุณและวิธีการใช้สินค้า และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและองค์กรได้นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า โดยทำหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจนถึงมือผู้บริโภค

     บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช ่วยเพิ่มมูลค ่าให้กับผลิตภัณฑ์และการตลาดได้การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มิได้ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของสินค้าเพียงอย่างเดียว
หากแต่ยังขึ้นอยู่กับรูปแบบและภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จูงใจภายนอกของสินค้านั้นด้วยทำให้บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆปัจจุบันสภาพการแข่งขันและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปประกอบกับเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ได้เจริญรุดหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทั้งในด้านการออกแบบและ
วัสดุบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์เครื่องจักร และเทคโนโลยีการผลิต
     ดังนั้น ในการจัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องพิจารณาถึงแนวทางการจัดการต่างๆได้แก่การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มการจ้างงานในการ
บรรจุภัณฑ์ การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ การป้องกันสูญหายในระหว่างการขนส่ง การจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการบรรจุภัณฑ์ทั้งนี้การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช ่วยลดต้นทุนของธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและทันเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในยุคโลกาภิวัตน



บจก ฟูลฟิลล์เม้นท์ เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนล

บจก ฟูลฟิลล์เม้นท์ เซอร์วิส อินเตอร์เนชั่นแนล
เลขที่ตั้ง 95 ซอยเฉลิมสุข ถนนพหลโยธิน แขวงจันทรเกษม
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดต่อเรา

เบอร์โทรศัพท์: (+66) 062-939-5614, 095-251-6068
Email: Fulfillment.inter@gmail.com
Line ID: Fs.inter

QR